วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของ ดนตรีสากล


  ดนตรีเป็นศิลปะของเสียงที่เกิดจากความพากเพียรของมนุษย์ในการสร้างเสียงให้อยู่ในระเบียบของจังหวะ ทำนอง สีสันของเสียงและคีตลักษณ์
องค์ประกอบของดนตรีสากล
        ดนตรีไม่ว่าจะเป็นของชาติใด ภาษาใด ล้วนมีพื้นฐานมาจากส่วนต่างๆ เหล่านี้ทั้งสิ้น ความแตกต่างในรายละเอียดของแต่ละส่วนแต่ละวัฒนธรรมนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่การที่จะแตกต่างกันอย่างไรนั้น กรอบวัฒนธรรมของแต่ละสังคมจะเป็นปัจจัยที่กำหนดในตรงตามรสนิยมของแต่ละวัฒนธรรมจนเป็นผลให้สามารถแยกแยะดนตรีของชาติหนึ่งแตกต่างจากดนตรีของอีกชาติหนึ่งอย่างไร
        องค์ประกอบของดนตรีสากล ประกอบด้วย
1. เสียง (Tone)
         คีตกวีผู้สร้างสรรค์ดนตรี เป็นผู้ใช้เสียงในการสร้างสรรค์ผลิตงานศิลปะเพื่อรับใช้สังคม ผู้สร้างสรรค์ดนตรีสามารถสร้างเสียงที่หลากหลายโดยอาศัยวิธีการผลิตเสียงเป็นปัจจัยกำหนด เช่น การดีด การสี การตี การเป่า
        เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเสียงอึกทึกหรือเสียงรบกวน (Noise) เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ลักษณะความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กบคุณสมบัติสำคัญ 4ประการ คือ ระดับเสียง ความยาวของเสียง ความเข้มของเสียง และคุณภาพของเสียง
        1.1 ระดับเสียง (Pitch) หมายถึง ระดับความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดการจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือน กล่าวคือ ถ้าเสียงที่มีความถี่สูง ลักษณะการสั่นสะเทือนเร็ว จะส่งผลให้มีระดับเสียงสูง แต่ถ้าหากเสียงมีความถี่ต่ำ ลักษณะการสั่นสะเทือนช้าจะส่งผลให้มีระดับเสียงต่ำ
        1.2 ความสั้น-ยาวของเสียง (Duration) หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว และตัวดำ เป็นต้น สำหรับในดนตรีไทยนั้น แต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลัก แต่ย่างไรก็ตาม การสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอก ฆ้องวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ
        1.3 ความเข้มของเสียง (Intensity) ความเข้มของสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนักเบาของเสียง ความเข้มของเสียงจะเป็นคุณสมบัติที่ก่อประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มีลีลาจังหวะที่สมบูรณ์
        1.4 คุณภาพของเสียง (Quality) เกิดจากคุณภาพของแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของเสียงเกิดความแตกต่างกันนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วิธีการผลิตเสียง รูปทรงของแหล่งกำเนิดเสียง และวัสดุที่ใช้ทำแหล่งกำเนิดเสียง ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะคุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะสีสันของสียง (Tone Color) ระหว่างเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งกับเครื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน
2. พื้นฐานจังหวะ (Element of Time)
        จังหวะเป็นศิลปะของการจัดระเบียบเสียง ที่เกี่ยวข้องกับความช้าเร็ว ความหนักเบาและความสั้น-ยาว องค์ประกอบเหล่านี้ หากนำมาร้อยเรียง ปะติดปะต่อเข้าด้วยกันตามหลักวิชาการเชิงดนตรีแล้ว สามารถที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดลีลาจังหวะอันหลากหลาย ในเชิงจิตวิทยา อิทธิพลของจังหวะที่มีผลต่อผู้ฟังจะปรากฏพบในลักษณะของการตอบสนองเชิงกายภาพ เช่น ฟังเพลงแล้วแสดงอาการกระดิกนิ้ว ปรบมือร่วมไปด้วย
3. ทำนอง (Melody)
        ทำนองเป็นการจัดระเบียบของเสียงที่เกี่ยวข้องกับความสูง-ต่ำ ความสั้น-ยาว และความดัง-เบา คุณสมบัติเหล่านี้เมื่อนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของความช้า-เร็ว จะเป็นองค์ประกอบของดนตรีที่ผู้ฟังสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด
        ในเชิงจิตวิทยา ทำนองจะกระตุ้นผู้ฟังในส่วนของสติปัญญา ทำนองจะมีส่วนสำคัญในการสร้างความประทับใจ จดจำ และแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพลงหนึ่งกับอีกเพลงหนึ่ง
4. พื้นผิวของเสียง (Texture)
        “พื้นผิว” เป็นคำที่ใช้อยู่ทั่วไปในวิชาการด้านวิจิตรศิลป์ หมายถึง ลักษณะพื้นผิวของสิ่งต่างๆ เช่น พื้นผิวของวัสดุที่มีลักษณะขรุขระ หรือเกลี้ยงเกลา ซึ่งอาจจะทำจากวัสดุที่ต่างกัน
        ในเชิงดนตรีนั้น “พื้นผิว” หมายถึง ลักษณะหรือรูปแบบของเสียงทั้งที่ประสานสัมพันธ์และไม่ประสานสัมพันธ์ โดยอาจจะเป็นการนำเสียงมาบรรเลงซ้อนกันหรือพร้อมกัน ซึ่งอาจพบทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ตามกระบวนการประพันธ์เพลง ผลรวมของเสียงหรือแนวทั้งหมดเหล่านั้น จัดเป็นพื้นผิวตามนัยของดนตรีทั้งสิ้น ลักษณะรูปแบบพื้นผิวของเสียงมีอยู่หลายรูปแบบ ดังนี้
        4.1 Monophonic Texture         เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียงที่มีแนวทำนองเดียว ไม่มีเสียงประสาน พื้นผิวเสียงในลักษณะนี้ถือเป็นรูปแบบการใช้แนวเสียงของดนตรีในยุคแรกๆ ของดนตรีในทุกวัฒนธรรม
        4.2 Polyphonic Texture         เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียงที่ประกอบด้วยแนวทำนองตั้งแต่สองแนวทำนองขึ้นไป โดยแต่ละแนวมีความเด่นและเป็นอิสระจากกัน ในขณะที่ทุกแนวสามารถประสานกลมกลืนไปด้วยกัน
        ลักษณะแนวเสียงประสานในรูปของ Polyphonic Texture มีวิวัฒนาการมาจากเพลงชานท์ (Chant) ซึ่งมีพื้นผิวเสียงในลักษณะของเพลงทำนองเดียว (Monophonic Texture) ภายหลังได้มีการเพิ่มแนวขับร้องเข้าไปอีกหนึ่งแนว แนวที่เพิ่มเข้าไปใหม่นี้จะใช้ระยะขั้นคู่ 4 และคู่ 5 และดำเนินไปในทางเดียวกับเพลงชานท์เดิม การดำเนินทำนองในลักษณะนี้เรียกว่า “ออร์กานุ่ม” (Orgonum) นับได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้นของการประสานเสียงแบบ Polyphonic Texture หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา แนวทำนองประเภทนี้ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปมาก ซึ่งเป็นระยะเวลาที่การสอดทำนอง (Counterpoint) ได้เข้าไปมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการตกแต่งพื้นผิวของแนวทำนองแบบ Polyphonic Texture
        4.3 Homophonic Texture         เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียง ที่ประสานด้วยแนวทำนองแนวเดียว โดยมี กลุ่มเสียง (Chords) ทำหน้าที่สนับสนุนในคีตนิพนธ์ประเภทนี้ แนวทำนองมักจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงสูงที่สุดในบรรดากลุ่มเสียงด้วยกัน ในบางโอกาสแนวทำนองอาจจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงต่ำได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าคีตนิพนธ์ประเภทนี้จะมีแนวทำนองที่เด่นเพียงทำนองเดียวก็ตาม แต่กลุ่มเสียง (Chords) ที่ทำหน้าที่สนับสนุนนั้น มีความสำคัญที่ไม่น้อยไปกว่าแนวทำนอง การเคลื่อนที่ของแนวทำนองจะเคลื่อนไปในแนวนอน ในขณะที่กลุ่มเสียงสนับสนุนจะเคลื่อนไปในแนวตั้ง
        4.4 Heterophonic Texture         เป็นรูปแบบของแนวเสียงที่มีทำนองหลายทำนอง แต่ละแนวมีความสำคัญเท่ากันทุกแนว คำว่า Heteros เป็นภาษากรีก หมายถึงแตกต่างหลากหลาย ลักษณะการผสมผสานของแนวทำนองในลักษณะนี้ เป็นรูปแบบการประสานเสียง
5. สีสันของเสียง (Tone Color)
         “สีสันของเสียง” หมายถึง คุณลักษณะของเสียงที่กำเนิดจากแหล่งเสียงที่แตกต่างกัน แหล่งกำเนิดเสียงดังกล่าว เป็นได้ทั้งที่เป็นเสียงร้องของมนุษย์และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ความแตกต่างของเสียงร้องมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพศชายกับเพศหญิง หรือระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานของการแตกต่างทางด้านสรีระ เช่น หลอดเสียงและกล่องเสียง เป็นต้น
        ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีนั้น ความหลากหลายด้านสีสันของเสียง ประกอบด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันหลายประการ เช่น วิธีการบรรเลง วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี รวมทั้งรูปทรง และขนาด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลโดยตรงต่อสีสันของเสียงเครื่องดนตรี ทำให้เกิดคุณลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันออกไป
        5.1 วิธีการบรรเลง         อาศัยวิธีดีด สี ตี และเป่า วิธีการผลิตเสียงดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยให้เครื่องดนตรีมีคุณลักษณะของเสียงที่ต่างกัน

        5.2 วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี         วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีของแต่ละวัฒนธรรมจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของสังคมและยุคสมัย วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีที่แตกต่างกัน นับเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในด้านสีสันของเสียง
        5.3 ขนาดและรูปทรง         ลักษณะของเครื่องดนตรีที่มีรูปทรงและขนาดที่แตกต่างกัน จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างกันในด้านสีสันของเสียงในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กัน
6. คีตลักษณ์ (Forms)         คีตลักษณ์หรือรูปแบบของเพลง เปรียบเสมือนกรอบที่หลอมรวมเอาจังหวะ ทำนอง พื้นผิว และสีสันของเสียงให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน เพลงที่มีขนาดสั้น-ยาว วนกลับไปมา ล้วนเป็นสาระสำคัญของคีตลักษณ์ทั้งสิ้น

ลักษณะของดนตรีสากล


เราจะแบ่งลักษณะของวงดนตรีสากลออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันดังนี้ 
1.
 วง Orchestra 
2.
 วง Band
     1. วง Orchestra  หรือ ดุริยางค์ เป็นลักษณะของวงดนตรีประเภทหนึ่งที่ใช้ เครื่องดนตรีประเภท เครื่องสาย (String) เป็นหลัก หรือเป็นเครื่องที่มีบทบาทมากที่สุด สำคัญที่สุดมากกว่าเครื่องดนตรีกลุ่มอื่น ๆ
      2. วง Band  เป็นลักษณะของวงดนตรีประเภทที่ใช้เครื่องดนตรีประเภท เครื่องเป่า เป็นหลัก เป็นเอกหรือเป็นเครื่องที่มีบทบาทมากที่สุด
ชนิดของวง Orchestra

      1. Symphony Orchestra เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่มากประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 กลุ่ม คือ   
                    1.
 เครื่องสาย
                    2.
 เครื่องลมไม้
                    3.
 เครื่องเป่าทองเหลือง
                    4.
 เครื่องเคาะ
ขนาดของวง
-วงเล็ก
 Small Orchestra ใช้ผู้บรรเลงประมาณ 60 - 80 คน 
-วงกลาง
 Medium Orchestra ใช้ผู้บรรเลงประมาณ 80 - 100 คน 
-วงใหญ่
 Full Orchestra ใช้ผู้บรรเลงประมาณ 100 คนขึ้นไป   
 
     2. Orchestra for accompaniments for opera วงดุริยางค์ประเภทนี้ใช้บรรเลง ประกอบการแสดง โอเปรา คล้ายกับละครหรือลิเกของไทย ที่ต้องมีดนตรีบรรเลงประกอบด้วย ใช้นักดนตรี ประมาณ
 60 คนหรือมากกว่า
     3. Chamber Orchestra วงดุริยางค์ประเภทนี้เป็นวงเล็ก ๆ มีผู้เล่นไม่เกิน 20 คน บางครั้งเราเรียก     วงดนตรีประเภทนี้ว่า Chamber Music เพราะวงประเภทนี้ตั้งขึ้นเพื่อร่วมกันเล่นหรือบรรเลง เพื่อการผ่อนคลายอารมณ์และพบปะสังสรรค์ยามว่าง เพลงที่เล่นก็เป็นเพลงง่าย ๆ และผู้เล่นอาจจะมีตั้งแต่ 2 คนถึง 9  ตัวอย่างเพลง Ensemble CANON IN D by PACHELBEL 
         
 ถ้ามีผู้เล่น 2 คน เรียกว่า "วงดูเอ็ท"   Duet 
                        "      3       "          "วงทริโอ"   Trio 
                        "      4       "          "วงควอดเต็ด"  Quartet 
                        "      5       "          "วงควิเต็ด"   Quintet 
                        "      6       "          "วงเซ็กเต็ด"   sextet 
                        "      7       "          "วงเซ็บเต็ท"   Septet 
                        "      8       "          "วงอ๊อกเต็ด"   Octet 
                        "      9       "          "วงโนเน็ท"   Nonet 

ชนิดของวง Band
     1. Symphonic Band เป็นวงที่มีเครื่องเป่าเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญ ประกอบด้วย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าทองเหลือง เครื่องเคาะ และ ดับเบิ้ลเบส กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้จะมี คลาริเนท บีแฟล๊ต เป็นจำนวนมากเปรียบเสมือนกับ ไวโอลิน ของวง Orchestra 

     2. Military Band (วงโยธวาทิต) ตามมาตรฐานวงชนิดนี้จะมีผู้เล่นอยู่ราว
 54 คน ประกอบด้วย 
เครื่องลมไม้ เครื่องทองเหลือง เครื่องเคาะ แต่จะไม่ใช้ ดับเบิ้ลเบส วงประเภทนี้จะใช้ในพิธีสวนสนามของทหาร 
หรือขบวนแห่ต่าง ๆ  
     3. Brass Band วงชนิดนี้คล้ายกับวงโยธวาทิตต่างกันก็ตรงที่ ไม่มี เครื่องลมไม้ และ เครื่องสาย   ใด ๆเลย 
 
     4. Jazz Band วงแจ๊ส วงดนตรีแบบนี้เกิดขึ้นในกลุ่มนิโกรเป็นครั้งแรกและในปัจจุบันนี้วงแจ๊สส่วนใหญ๋ก็ยังเจริญอยู่กับพวกนิโกร วงดนตรีประเภทนี้ประกอบด้วย กลุ่มแซ๊กโซโฟน ซึ่งมีโซปราโนแซ๊กโซโฟน อัลโตแซ๊กโซโฟน เทนเนอร์แซ๊กโซโฟน บาริโทนแซ๊กโซโฟน คลาริเนท ทรัมเป็ท ทรอมโบน ดับเบิ้ลเบส เปียนโน และเครื่อง
 Percussion ตามความเหมาะสม เช่น กลองชุด ทอมบา บองโก มารากัส เป็นต้น 
  
      5. Combo Band (วงคอมโบ) เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก มุ่งประกอบการขับร้องเป็นส่วนใหญ่ นิยมนำไปบรรเลงตามร้านอาการ ไนท์คลับ หรือตามสถานที่เริงรมย์ต่าง ๆ วงดนตรีประเภทนี้มีจำนวนนักดนตรีและเครื่องดนตรีไม่แน่นอน ทั้งนี้แล้วแต่ความสะดวกในการจัดวง แต่ส่วนมากมักประกอบด้วยเครื่องดนตรีคือ
 trumpet , Tenor Saxophone , Alto Saxophone , Trombone , Piano กีตาร์คอร์ด กีต้ารเบส กลองชุด เครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ
นอกจากนี้ยังมีวงดนตรีที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่อีกหลายชนิด ซึ่งวงที่เกิดขึ้นใหม่นี้ก็อาศัย ดัดแปลง ปรับปรุง แก้ไข จากของเดิมเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ปัจจุบันที่ต้องการความง่าย ๆ สะดวก สบาย รวดเร็ว เช่น
        6. Shadow (วงชาโดว์) เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก สะดวกในการขนย้ายไปแสดงในที่ต่าง ๆ ใช้บรรเลงประกอบการขับร้อง และบางครั้งบรรเลงเฉพาะดนตรีอย่างเดียว เครื่องดนตรีที่ใช้มี กีต้าร์ลีด (เมโลดี้) กีต้าร์คอร์ด กีต้าร์เบส กลองชุด เครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ
         7. String combo วงดนตรีประเภทนี้ดัดแปลงมาจากวงคอมโบ และวงชาโดว์ คือ นำเอาเครื่องดนตรีในวงชาโดว์ผสมกับวงคอมโบ แต่ยังคงให้เครื่องดนตรีประเภทกีต้าร์ เป็นเครื่อง ที่มีความสำคัญกว่าเครื่องดนตรีอื่น ๆ
          8. Folk Song วงโฟล์คซอง เป็นวงดนตรีขนาดเล็กที่สุด มีผู้เล่นไม่เกินวงละ 3 คน แต่ที่นิยมมากที่สุด นิยมเพียงคนเดียว เครื่องดนตรีที่ใช้ กีต้าร์โปร่งเพียงอย่างเดียว โดยที่ผู้เล่นกีต้าร์จะร้องและดีดกีต้าร์ไปด้วย
          9. String Band เป็นวงดนตรีที่ปรับปรุงจากวง คอมโบ โดยเพิ่ม ไวโอลิน มาร่วมบรรเลงด้วยประมาณ 6 - 10 คัน เพื่อให้ ไวโอลิน เหล่านี้เล่น เป็นทำนอง และ back ground ทำให้เพลงที่บรรเลงมีความไพเราะยิ่งขึ้นหนักแน่นขึ้น วงประเภทนี้ได้รับความนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น วงดารากร วงเจมส์ลาส 

ประโยชน์ของดนตรี
 ดนตรี คือ ลักษณะของเสียงที่ได้รับการจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีแบบแผนและโครงสร้างชัดเจน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ เพื่อความสุนทรีย์, เพื่อการบำบัดรักษา และเพื่อการศึกษา

     ความหมายของดนตรีบำบัด คือ การวางแผนในการใช้กิจกรรมทางดนตรีควบคุม ในกลุ่มของคนทุกวัยไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก จนถึงวัยสูงอายุ เพื่อให้เกิดผลบรรลุในการรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดมาจากความบกพร่องต่างๆ เช่น ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ ทางร่างกาย และสติปัญญา

     ดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลาย ๆ ด้าน จากการศึกษาวิจัยพบว่าผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการหายใจ,
 อัตราการเต้นของชีพจร, ความดันโลหิต, การตอบสนองของม่านตา, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือด จึงมีการนำดนตรีมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้ เจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ เรียกกันว่าดนตรีบำบัด (music therapy)


     ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีหลายประการ เช่น ช่วยปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงบวก ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ กระตุ้นประสาทสัมผัส การรับรู้ เสริมสร้างสมาธิ พัฒนาทักษะสังคม พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ลดความตึงตัว ของกล้ามเนื้อ ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ และช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว


5.เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี


     ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องและส่วนที่ใช้ตีให้สอาดก่อนและหลังการเล่นทุกครั้ง และเก็บเครื่องดนตรีใส่กล่องหรือใช้ผ้าคลุมทุกครั้งที่เล่ยเสร็จแล้ว

4.เครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว


     ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าแห้ง เช็ดถูตัวเครื่องและบริเวณลิ่มนิ้วให้สอาด ปิดฝาครอบและใช้ผ้าครุมให้เรียบร้อบ

3.เครื่องเป่าทองเหลือง


     ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องให้สอาดก่อนและหลังการใช้งาน เมื่อให้เสร็จแล้วให้กดกระเดื่องสำหลับไล่น้ำลายแล้วเป่าลมแรงๆเข้าไปตรงปากเป่าเพื่อไล่หยดน้ำลายที่ค้างอยู่ในท่อ เสร็จแล้วถอดปากเป่าออกมาทำความสอาด โดยใช้ผ้าเช็ดและเศษผ้าแตะครีบขัดโลหะลูบเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อบ

2.เครื่องเป่าลมไม้


     1)ประเภทเป่าลมผ่านช่องลม ให้ใช้ผ่านุ่มเช็ดตัวเครื่องก่อนและหลังการเป่า ส่วนเครื่อเป่าที่เป็นโลหะ ให้ใช่ผ่านุ่มและแตะน้ำมันสำหรับทำครามสะอาจเครื่องดนตรี และลูบไปตามกระเดื่องกลไกและตัวเคลื่อนให้ทั่ว เพื่อให้กระเดื่องกลไกเกิดความคล่องตัวในการใช่งาน และช่วยไม่ให้เกิดสนิม
     2)การทำความสอาดปากเป่าและลิ้น ถอดปากเป่าและลิ้นออกมาทำความสอาด จากนั้นผึ่งลมและเช็ดให้แห้งก่อนใช้ฝาครอบสวมส่วนบน แล้วจึงเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย

1.เครื่องสาย


     ก่อนอื่นกลังการเล่น ให้ใช้ผ้าแห้งลูบเบาๆบนสายและตัวเครื่องที่ใช้ชักสี เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ต้องปรับคันชักไม่ใช้สายตรึงเกิดไป ก่อนที่จะนำไปเก็บในกล่องเพราะหากปล่อยให้สายตรึง เป็นเวลานานอาจชำรุดได้

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากล


     เครื่องดนตรีสากลมีหลายประเภท เราควรดูแลรักษาให้ถูกต้องตามประเภทของเครื่องดนตรีซึ่งจะทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน การดูแลรักษามีง่ายๆ ดังนี้


5. เครื่องกระทบ (Percussion Instruments)


เครื่องกระทบ (Percussion instruments) เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบนั้นหมายถึง เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงดังขึ้นจากการตี กระทบการสั่น การเขย่า หรือ การเคาะ การตีอาจใช้ไม้ตีหรือใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เกิดเสียง เครื่องประเภทนี้มักประกอบขึ้นด้วยวัสดุของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือ แผ่นหนังขึงตึง เครื่องประกอบจังหวะอาจมีชื่อเรียกเป็นคำอื่น เช่น เครื่องตี เครื่องประกอบจังหวะ เป็นต้น เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องกระทบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1)เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch Instruments) เครื่องดนตรีกลุ่มนี้มีระดับเสียงสูงต่ำเหมือนกับเครื่องดนตรีประเภทอื่น เกิดเสียงโดยการตีกระทบ ส่วนใหญ่ตีกระทบเป็นทำนองเพลงได้ เช่น มาริมบา ไซโลโฟน ไวบราโฟน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับระนาดของไทย และกลองทิมปานี

1.กล็อคเคนสปิล (Glockenspiel)
2.ไซโลโฟน (Xylophone)
3.ไวบราโฟน (Vibraphone)
4.มาริมบา (Marimba)
5.ระฆังราว (Tubular Bells)
2)เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน (Indefinite Pitch Instruments) เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ไม่มีระดับเสียงที่แน่นอน หน้าที่สำคัญคือ ใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เกิดเสียงโดยการตี สั่น เขย่า เคาะ หรือขูด เช่น คาบาซา กิ๋ง ฉาบ แทมโบริน คาวเบลล์ มาราคาส และกลองชนิดต่างๆ
1.กรับสเปน (Castanets)
2.มาราคัส (Maracas)
3.ไทรแองเกิล หรือ กิ๋ง (Triangle)
4.ฉาบ (Cymbal)
5.บองโก (Bongo)
6.คองกา (Conga)
7.คาบาซา (Cabasa)
8.คาวเบลล์ (Cowbell)
9.กลองชุด (Drum Set)
10.แทมบูริน (Tambourine)
11.กลองทิมปานี (Timpani)
12.กลองใหญ่ (Bass Drum)
13.กลองแต็ก (Snare Drum)

อ้างอิง : http://nuy1.exteen.com/20071128/entry

4. เครื่องลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments)


     เครื่องดนตรีในยุคนี้ มักนิยมเรียกทับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า “เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด” ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีที่อยู่ในกลุ่มนี้ก็คือ มีลิ่มนิ้วสำหรับกด เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงดนตรี ลิ่มนิ้วสำหรับกดนั้นนิยมเรียกว่า “คีย์” (Key) เครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีจำนวนคีย์ไม่เท่ากัน โดยปกติสีของคีย์เป็นขาวหรือดำ คีย์สีดำโผล่ขึ้นมากกว่าคีย์สีขาว
การเกิดเสียงของเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มีหลายลักษณะ เปียโน ฮาร์ปซิคอร์ด คลาวิคอร์ด เกิดเสียง โดยการกดคีย์ที่ต้องการ แล้วคีย์นั้นจะส่งแรงไปที่กลไกต่างๆ ภายในเครื่องเพื่อที่จะทำให้สายโลหะที่ขึงตึงสั่นสะเทือน ทำให้เกิดเสียงให้ดังขึ้น เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดบางชนิดให้ลมผ่านไปยังลิ้นโลหะให้สั่นสะเทือน ทำให้เกิดเสียงดังขึ้น เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดบางชนิดให้ลมผ่านไปยังลิ้นโลหะให้สั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียง ในปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้วจะมีบางเป็นบางโอกาส เช่น ออร์แกนลม แอ็คคอร์เดียน สำหรับเมโลเดียน และเมโลดิกา ที่นำมาใช้เป็นอุปกรณ์การสอนดนตรี ในโรงเรียนระดับอนุบาล จนถึงระดับประถมศึกษาก็จัดอยู่ในเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดด้วยเช่นกัน
ในปัจจุบัน เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่เกิดเสียงโดยใช้วงจรอิเล็คทรอนิกส์ ไดรับความนิยมมาก เพราะสามารถเลียนแบบเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ได้หลายชนิด ซึ่งได้พัฒนามาจากออร์แกนไฟฟ้านั่นเอง มีชื่อเรียกหลายชื่อ แต่ละชื่อมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เช่น เครื่องสตริง (String Machine) คือ เครื่องประเภทคีย์บอร์ด ทีเลียนเสียงเครื่องดนตรีในตระกูลไวโอลินทุกชนิด อิเล็คโทน คือ เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่มีจังหวะในตัว สามารถบรรเลงเพลงต่างๆ ได้ด้วยนักดนตรีเพียงคนเดียว
ในยุคของคอมพิวเตอร์ เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดได้วิวัฒนาการไปมาก เสียงต่างๆ มีมากขึ้น นอกจากเสียงดนตรีแล้วยังมีเสียงเอฟเฟ็คต์ (Effect) ต่างๆ ให้เลือกใช้มาก เสียงต่างๆ เหล่านี้เป็นเสียงที่สังเคราะห์ขึ้นมาด้วยระบบ อิเล็คทรอนิกส์ ดังนั้นเครื่องดนตรีประเภทนี้จึงถูกเรียกว่า “ซินธีไซเซอร์” (Synthesizer)เครื่องดนตรีที่จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องลิ่มนิ้ว ได้แก่

1.เปียโน (Piano)
2.ออร์แกน (Organ)
3.ฮาร์พซิคอร์ด (Harpsichord)
4.คลาวิคอร์ด (Clavichord)
5.แอคคอร์เดียน (Accordion)
6.เมโลเดียน (Melodion)
7.อิเล็คโทน (Electone)
8.ซินเธไซเซอร์ (Synthesizer)

3. เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)


     เครื่องดนตรีประเภทนี้มักทำด้วยโลหะผสมหรือโลหะทองเหลือง เสียงของเครื่องดนตรีประเภทนี้เกิดจากการเป่าผ่านท่อโลหะ ความสั้นยาวของท่อโลหะทำให้ระดับเสียงเปลี่ยนไป การเปลี่ยนความสั้นยาวของท่อโลหะจะใช้ลูกสูบเป็นตัวบังคับ โดยทั่วไปมีเครื่องละ 3 ลูกสูบ เช่น คอร์เนต ทรัมเป็ท ฟลูเกิลฮอร์น เป็นต้น เครื่องดนตรีประเภทนี้มี 4 ลูกสูบก็ได้ เครื่องลมทองเหลืองชนิดที่มี 4 ลูกสูบ จะสามารถทำเสียงได้มากกว่าชนิดที่มี 3 ลูกสูบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระดับเสียงที่ต่ำกว่าปกติ เช่น ทูบา ยูโฟเนียม เป็นต้น
เครื่องดนตรีบางชนิดจะใช้การชักท่อลมเข้าออก เปลี่ยนความสั้นยาวของท่อตามความต้องการ เช่น ทรอมโบน ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีประเภทนี้ มีปากลำโพงสำหรับใช้ขยายเสียงให้มีความดังเจิดจ้า เรามักเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้รวมๆ กันว่า “แตร” ขนาดของปากลำโพงขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องดนตรี ปากเป่าของเครื่องดนตรีประเภทนี้เรียกว่า “กำพวด” (Mouthpiece) ทำด้วยท่อโลหะ ทรงกรวย ด้านปากเป่ามีลักษณะบานออก คล้ายรูปกรวย มีขนาดต่างๆ กัน ตามขนาดของเครื่องดนตรีนั้นๆ ปลายท่ออีกด้านหนึ่งของกำพวด ต่อเข้ากับท่อลมของเครื่องดนตรี

1.คอร์เน็ต (Cornet)
2.ทรัมเป็ต (Trumpet)
3.บิวเกิล (Bugle)
4.ฟลูเกิลฮอร์น (Flugelhorn)
5.เฟรนช์ฮอร์น (Frenchhornx)
6.ทรอมโบน (Trombone)
7.บาริโทน (Baritone)
8.ยูโฟเนียม (Euphonium)
9.ทูบา (Tuba)
10.ซูซาโฟน (Sousaphone)

2)เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)


     เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments)เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้นี้ แม้ตัวของเครื่องดนตรี อาจทำจากวัสดุต่างๆ มากมาย แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเสียง คือ ลิ้น (Reed) ซึ่งทำมาจากไม้ จึงได้ชื่อว่า เครื่องเป่าลมไม้นั่นเอง
เครื่องดนตรีประเภทนี้ เกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านช่องแคบๆ ให้เข้าไปภายในท่อ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงให้ดังขึ้น คุณลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกัน ตามขนาดของท่อ ความสั้นยาวของท่อ และความแรงของลมที่เป่าเข้าไปภายในท่อ เครื่องลมไม้บางชนิด เสียงคล้ายขลุ่ยไทย เช่น ฟลุ้ท ปิคโคโล ซึ่งไม่มีลิ้น เกิดเสียงโดยเป่าลมผ่านเข้าไปทางด้านข้างตามแนวนอนของเครื่อง เครื่องลมไม้บางชนิด เสียงคล้ายปี่ เกิดเสียงโดยเป่าลมผ่านลิ้น ซึ่งมีทั้งลิ้นคู่ เช่น บาสซูน โอโบ และลิ้นเดี่ยว เช่น คลาริเนต แซ็กโซโฟน เป็นต้น
เครื่องดนตรีแต่ละชนิดยังมีขนาดต่างๆ กันออกไป เครื่องดนตรีขนาดเล็กจะให้ระดับเสียงสูง เครื่องดนตรีขนาดใหญ่จะให้เสียงต่ำ ผู้บรรเลงจะต้องเลือกใช้เครื่องดนตรีให้เหมาะสมกับบทเพลง ตามที่ผู้ประพันธ์เพลงได้กำหนดไว้

1.รีคอร์เดอร์ (Recorder)
2.ปิคโคโล (Piccolo)
3.ฟลุท (Flute)
4.คลาริเน็ต (Clarinet)
5.แซ็กโซโฟน (Saxophone)
6.โอโบ (Oboe)
7.อิงลิชฮอร์น (English Horn)
8.บาสซูน (Bassoon)

1)เครื่องสาย (String Instruments)


     เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเกิดเสียงโดยการทำให้สายสั่นสะเทือน มีทั้งการดีดและสี เครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการดีดส่วนใหญ่ (ยกเว้นฮาร์พ) จัดอยู่ในตระกูลLute Family ซึ่งต่อมามีวิวัฒนาการเป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น ลูท (Lute) ไลร์ (Lyre) เป็นเครื่องดนตรีโบราณ ที่นิยมใช้ในปัจุบันได้แก่ กีต้าร์ (Guitar) แบนโจ (Banjo) แมนโดลิน (Mandolin) และฮาร์พ (Harp) ส่วนเครื่องดนตรีในตระกูลไวโอลิน (Violin Family) เช่น ไวโอลิน (Violin) วิโอลา (Viola) เชลโล (Cello) และดับเบิลเบส (Boudble Bass) มีวิวัฒนาการมาจากเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินส์ (Viol Family) โดยได้เปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างเรื่อยมาเป็นเวลาหนึ่งศตวรรษ จนกระทั่งมีขนาดและรูปร่างดังที่เห็นในปัจจุบัน เกิดเสียงโดยการกดนิ้วลงที่ตำแหน่งต่างๆ บนสะพานนิ้ว (Finger Board) มีทั่งการดีด และการสีโดยใช้คันชัก คันชักทำด้วยขนหางม้าทาด้วยยางสนเพื่อทำให้เกิดความฝืด เครื่องดนตรีประเภทนี้ทำให้เสียงเบาโดยการใช้มิวท์ (Mute) เสียบไว้ที่หย่องหรือส่วนล่างของสาย การนับจำนวนสาย นับจากสายที่เล็กสุดเป็นสายที่ 1 เรียงลำดับกันไปหาสายใหญj
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย สายของเครื่องดนตรีประเภทนี้มีทั้งสายที่ทำมาจากเส้นลวด เส้นเอ็น เส้นไหม ไนล่อน หรือโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง นำมาขึงให้ตึง ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับรูปร่าง และวัสดุที่นำมาใช้ทำกะโหลกเครื่องดนตรี กะโหลกเครื่องดนตรีทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่นำมาใช้ในการประสมวงดนตรีมีดังนี้

1.ไวโอลิน (Violin)
2.วิโอลา (Viola)
3.เชลโล (Cello)
4.ดับเบิลเบส (Double Bass)
5.ฮาร์พ (Harp)
6.ไลร์ (Lyre)
7.ลูท (Lute)
8.แบนโจ (Banjo)
9.กีตาร์ (Guitar)
10.แมนโดลิน (Mandolin)

ประเภทของเครื่องดนตรี


เครื่องดนตรีคือสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อกำเนิดเสียงชนิดต่างๆ ตามที่ต้องการ เสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดความหลากหลายของเสียง บทเพลงมีสีสัน มีชีวิตชีวา เสริมสร้างอารมณ์จากเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เครื่องดนตรีสากลในปัจจุบันสามารถจำแนกหรือจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของเสียงที่คล้ายคลึงกัน และลักษณะของเครื่องดนตรี แบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้